ติดตามบน facebook

Sunday, October 21, 2012

ความรู้ ทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัย

ความรู้ ทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัย (ศ.ดร.สุมาลี สังข์ศรี)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัย

ศ.ดร.สุมาลี สังข์ศรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การวิจัย หมายถึง
      การศึกษาค้นคว้า การเสาะแสวงหาข้อมูลอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอนโดยวิธีการที่เชื่อถือได้ พิสูจน์ได้ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้ผลการศึกษาที่เชื่อถือได้

ประเภทของการวิจัย
การวิจัยสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เกณฑ์ใดในการแบ่ง ซึ่งสรุปได้ดังนี้




1. แบ่งตามประโยชน์ของการวิจัย

    - การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาค้นคว้าหาทฤษฎีใหม่ๆ หลักการใหม่ๆ

    - การวิจัยประยุกต์ เป็นการวิจัยที่นำหลักการ แนวคิดทฤษฎีที่มีผู้ค้นพบแล้วมาทดลองใช้

    - การวิจัยเชิงปฏิบัติ

2. แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย

    - การวิจัยบริสุทธิ์

    - การวิจัยประยุกต์

3. แบ่งตามการควบคุมตัวแปร

    - การวิจัยเชิงทดลอง เป็นการวิจัยที่มีการทดลองมีการควบคุมตัวแปรต่างๆ เพื่อศึกษาผลที่เกิดจากการทดลอง ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำการวิจัยในห้องทดลองสามารถควบคุมตัวแปรต่างๆ ได้อย่างเข้มงวด

    - การวิจัยกึ่งทดลอง เป็นการวิจัยที่มีลักษณะเช่นเดียวกับการวิจัยเชิงทดลองเพียงแต่ไม่สามารถควบคุมตัวแปรได้อย่างเข้มงวด ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในทางสังคมศาสตร์

    - การวิจัยตามธรรมชาติ

4. แบ่งตามประเภทหรือลักษณะของข้อมูล

    4.1   การวิจัยเชิงปริมาณ
            4.1.1  การวิจัยเชิงพรรณนา
                     - การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
                     - การวิจัยเชิงสำรวจ
                     - การศึกษารายกรณี
                     - การศึกษาสหสัมพันธ์
                     - การวิจัยย้อนรอย
                     - การวิจัยพัฒนา
             4.1.2 การวิจัยเชิงทดลอง 
                     - ทดลองแท้
                      - กึ่งทดลอง
    4.2  การวิจัยเชิงคุณภาพ

5. แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย

     - การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาเพื่อสืบค้นประวัติความเป็นมา เรื่องราวต่างๆ เหตุการณ์ที่เกิดมาแล้วในอดีต และนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์หาความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ในอดีตมาถึงปัจจุบันและอนาคต

      - การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนา

       - การวิจัยเชิงทดลอง

6. แบ่งตามเวลาที่เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น

        - การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        - การวิจัยปัจจุบัน

        - การวิจัยอนาคต

7. แบ่งตามเกณฑ์สาขาวิชา

        - การวิจัยทางการศึกษา

         - การวิจัยทางวิทยาศาสตร์

         - การวิจัยทางการแพทย์

          - การวิจัยทางสังคมวิทยา

ขั้นตอนการวิจัย

1. ขั้นเตรียมการ
       เป็นขั้นการพิจารณาเลือกและกำหนดปัญหาที่จะดำเนินการวิจัย เลือกหัวข้อ กำหนดเรื่องที่จะทำวิจัย อาจศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบ เช่น ตำรา เอกสาร งานวิจัย

2. ขั้นออกแบบการวิจัย โดยสรุปผู้วิจัยจะกำหนดแผนในประเด็นต่อไปนี้
        - กำหนดประเภทใดของงานวิจัย
        - วัตถุประสงค์
        - สมมติฐาน
        - ตัวแปร
        - วิธีดำเนินงาน
        - ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
        - เครื่องมือ
        - การเก็บรวบรวมข้อมูล
        - การวิเคราะห์ข้อมูล

3. ขั้นลงมือทำวิจัย ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย
        - การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
        - การสร้างเครื่องมือ
        - การเก็บรวบรวมข้อมูล
        - การวิเคราะห์ข้อมูล
        - การแปลผลและสรุปผลการวิจัย

4. ขั้นตอนการเสนอผลการวิจัย หรือ เรียกว่าการจัดทำรายงานการวิจัย

รายละเอียดของการดำเนินการวิจัย
1. การกำหนดปัญหาการวิจัย

     1.1  จากงานที่ปฏิบัติอยู่
     1.2  จากปัญหาสังคมโดยทั่วไป
     1.3  จากการอ่านหนังสือเอกสารต่างๆ
     1.4  จากการสนทนากับผู้รู้
     1.5 จากการศึกษางานวิจัย

 แนวทางการเลือกปัญหาการวิจัย

     1.   ควรเป็นเรื่องที่ผู้วิจัยมีความสนใจอย่างแท้จริง
     2.   ควรเป็นเรื่องที่มีประโยชน์มีค่าควรแก่การทำวิจัย
     3.   ควรเป็นเรื่องที่ผู้วิจัยมีความเกี่ยวข้องอยู่บ้าง หรือมีความรู้อยู่บ้าง
     4.   ควรคำนึงถึงความพร้อมของผู้วิจัย
     5.   คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อต่องานวิจัย

 ลักษณะปัญหาการวิจัย

     1.  ไม่กว้างมาก
     2.   หาคำตอบได้
     3.  ไม่ใช่ปัญหาไร้สาระ
     4.   ไม่ซ้ำ
     5.   ไม่ใช่ปัญหาที่หาข้อยุติไม่ได้

2. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นขั้นที่ผู้วิจัยทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัยจากแหล่งต่างๆ เช่น หนังสือ เอกสาร รายงานผลการดำเนินงาน รายงานการวิจัย การประชุมสัมมนา การสัมภาษณ์ผู้รู้ แล้วนำข้อมูลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องมาเรียบเรียงสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย

3. การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าผู้วิจัยจะทำอะไรบ้างในการวิจัยนั้นๆ เป็นกรอบและทิศทางที่ช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดรายละเอียดอื่นๆ ในการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการกำหนดประเภทของการวิจัยที่จะทำ การออกแบบการวิจัย การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง วิธีการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูล

4. การกำหนดรูปแบบของการวิจัย

   4.1 รูปแบบที่เน้นการแสวงหาข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วหรือรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเชิงวิจัยธรรมชาติหรือการวิจัยเชิงพรรณนา

    4.2 รูปแบบที่เน้นการจัดกระทำหรือรูปแบบที่เกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลองหรือกึ่งทดลอง

5. การกำหนดสมมติฐานการวิจัย คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง 

     แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

    5.1 สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม

     5.2 สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ

6. การกำหนดตัวแปร

   ตัวแปร หมายถึง ลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่ผู้วิจัยทำการศึกษาควบคุมหรือสังเกต ในการดำเนินการวิจัยจะมีตัวแปรหลักอยู่ 2 ประเภท คือ

     6.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น คือ ตัวแปรที่ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนดหรือเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง

     6.2 ตัวแปรตาม คือ ตัวแปรที่มีการเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรอิสระ

หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่าตัวแปรต้นเป็นเหตุ ตัวแปรตามเป็นผล ตัวแปรต้นคือสิ่งที่มีอยู่แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้วและผู้วิจัยทำการศึกษา ตัวแปรตามก็คือผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรต้นเหล่านั้น ถ้าเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ตัวแปรต้นก็คือสิ่งที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นเป็นการทดลอง ส่วนตัวแปรตามเป็นผลที่เกิดจากการทดลองนั้น

7. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง / สิ่งตัวอย่าง

    7.1 ประชากร หมายถึง สิ่งที่ผู้วิจัยทำการศึกษาทั้งหมดทุกหน่วย ประชากรอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ขึ้นอยู่กับว่าผู้วิจัยจะศึกษาเรื่องอะไร

    7.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนของประชากรที่ผู้วิจัยเลือกมาศึกษา เนื่องจากในการวิจัยเรื่องหนึ่งๆ ผู้วิจัยไม่สามารถจะศึกษาประชากรได้ทั้งหมดเพราะอาจมีจำนวนมาก จึงต้องเลือกบางส่วนมาเป็นตัวแทน ส่วนที่เป็นตัวแทนนี้ คือ กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ดีจะต้องเป็นตัวแทนของประชากรหรือมีลักษณะใกล้เคียงประชากรมากที่สุด ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างจะต้องคำนึงถึง 2 ประการ ประการที่ 1 ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ประการที่ 2 วิธีเลือกตัวอย่าง

8. การกำหนดและพัฒนาเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยมีหลายประเภท ที่สำคัญได้แก่

     1)  แบบทดสอบ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรม ความรู้ ระดับสติปัญญา ความถนัดความสามารถในด้านต่างๆ

     2) แบบสอบถาม เป็นข้อคำถามที่ต้องการจะได้ข้อมูลในด้านต่างๆ จากผู้ตอบ นิยมใช้ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์

      3) แบบสัมภาษณ์

      4) การสังเกต เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยไปเฝ้าดูพฤติกรรม เหตุการณ์และสภาพแวดล้อมของสิ่งที่จะรวบรวมข้อมูล การสังเกตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่. คือ
            -  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม
            -  การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

       5)  สังคมมิติ เป็นการหาความสัมพันธ์ของคนในกลุ่ม

       6)  การศึกษารายกรณี เป็นการศึกษาแบบเจาะลึกเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรม เข้าใจสถานการณ์เพื่อจะหาทางปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนา

9. การเก็บรวบรวมข้อมูล

      1)  การแจกแบบสอบถาม
      2)  การสังเกต
      3)  การสัมภาษณ์
      4)  การศึกษาชุมชน

10. การวิเคราะห์ข้อมูล
      -  ตรวจสอบ
      - กำหนดแผนการวิเคราะห์
      - ดำเนินการ

11. การแปลผล และการนำเสนอผล

      1)  การเขียนตาราง
      2)  การอธิบายตาราง

12. การจัดทำรายงานการวิจัย

      รายงานการวิจัยประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วนคือ 1 ส่วนนำ 2 ส่วนเนื้อหา 3 ส่วนท้าย
      บทที่ 1 บทนำ
      บทที่ 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
      บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
      บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
      บทที่ 5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ 

No comments: